วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นครรัฐปัตตานี

ปัตตานี นครรัฐ


รายละเอียดของ นครปัตตานีที่ระบุในไทยรัฐมีดังนี้
หัวใจ​สำคัญ​ของ​นโยบาย​ชุด​นี้​คือ จัดตั้ง​องค์กร​ปกครอง​ท้องถิ่น​รูป​แบบ​พิเศษ เรียก​ว่า นคร​ปัตตานี
นคร​ปัตตานีไม่​ใช่​รัฐ​อิสระ ไม่​ใช่​การ​แยก​ดิน​แดน แต่​เป็น​การบริหาร​ท้องถิ่น​ภาย​ใต้​การกำกับ​ดูแล​ของ​รัฐบา
โดย​รวม​จังหวัด​ปัตตานี จังหวัด​ยะลา จังหวัด​นราธิวาส เป็น นคร​ปัตตานีมี​สถานะ​เป็น​องค์กร​ปกครอง​ท้องถิ่น​ที่​ประชาชน​ใน 3 จังหวัด​ภาค​ใต้​มี​ส่วน​ร่วม​โดย​ตร
ให้​มี​ผู้​ว่า​ราชการ​นคร​ปัตตานี 1 คน รอง​ผู้​ว่าฯ​ไม่​เกิน 3 คน ซึ่ง​ประชาชน​ใน​พื้นที่​เลือกตั้ง​มา​เอ
คุณสมบัติ​ผู้​สมัคร​รับ​เลือกตั้ง​ผู้​ว่าฯ​นคร​ปัตตานีคือ ต้อง​มี​สัญชาติ​ไทยโดย​การ​เกิดต้อง​มี​ทะเบียน​บ้าน​อยู่​ใน 3 จังหวัดภาค​ใต้​ไม่​น้อย​กว่า 180 วัน และ​ดำรง​ตำแหน่ง​ได้ 4 ปี
ให้​มี​การ​จัดตั้ง​สภา​นคร​ปัตตานี มี​สมาชิก​สภาฯ​ ซึ่ง​ประชาชน​เลือกตั้ง​โดย​ตรง อำเภอ​ละ 1 คน ดำรง​ตำแหน่ง 4 ปี​เช่น​เดียวกั
ให้​ยุบ​เลิก ศอ.บต.โอน​อำนาจการ​บริหาร​ชาย​แดน​ใต้​ให้ นคร​ปัตตานีรับผิดชอบ​ด้าน​การบริหาร​ทั่วไป การ​แก้​ปัญหา​ความ​ไม่​สงบ การ​พัฒนา​เศรษฐกิจ และ​การ​เสริม​สร้าง​สันติสุข​ของ​ประชาช
ให้​กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบ​จ. นายก​เทศมนตรี นายก อบต. ยัง​ปฏิบัติ​หน้าที่​ต่อ​ไป​ตาม​เดิ
ให้​รัฐมนตรี​มหาดไทยมี​อำนาจ​ตาม​กฎหมาย​ใน​การ​ควบคุม​ดูแล​การบริหาร​ราชการ​นคร​ปัตตาน
รัฐมนตรี ​มหาดไทย​มี​อำนาจ​กำกับ​ผู้​ว่าฯ​นคร​ปัตตานี มี​อำนาจ​ยับยั้ง หรือ​สอบสวน​ลงโทษ ถ้า​กระทำ​การ​ใดๆที่​ขัด​ต่อม​ติ ครม.หรือ​กระทำการ​ใดๆที่​อาจ​เกิด​ความ​เสียหาย​ต่อ​การบริหาร​ราชกา
ให้ ผู้​ว่าฯนคร​ปัตตานีต้อง​ทำ​แผน​ยุทธศาสตร์ แผน​บริหาร​พื้นที่ แผน​พัฒนาเศรษฐกิจ ​และ​ต้อง​รายงาน​ผล​การ​ปฏิบัติ​งาน​ต่อ​คณะ​รัฐมนตรีและ​ต่อรัฐสภา​ทุก​ป
ให้​รัฐบาล​จั​งบประมาณ​สนับสนุน​พัฒนา นคร​ปัตตานี สภา​นคร​ปัตตานี และ​ข้าราชการ​ทุก​หน่วย​ที่​อยู่​ใน​สังกัด​นคร​ปัตตานี ฯล
แนวคิดเรื่อง เขตปกครองพิเศษหรือ นครปัตตานีไม่ใช่เรื่องใหม่ ก่อนหน้านี้บุคคลของพรรคเพื่อไทยเองอย่าง พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ก็เคยเสนอเรื่องนี้มาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจากสังคมมากนัก (ครั้งล่าสุดที่ พล.อ. ชวลิต พูดเรื่องนี้คือปี 2552 ดูรายละเอียดจาก บางกอกทูเดย์: ถอดรหัส นครปัตตานี และ คมชัดลึก: จิ๋วลั่นนครปัตตานีต้องอยู่ภายใต้กม.ไทย)
การนำเสนอไอเดีย นครปัตตานีของพรรคเพื่อไทยในครั้งนี้ จึงย่อมเป็นพัฒนาการต่อจากไอเดียของ พล.อ. ชวลิต ไปในเส้นทางเดิม (และน่าเชื่อว่าพล.อ. ชวลิต จะยังเป็นแกนหลักในการผลักดันนโยบายนี้ต่อไป ถ้าหากตัว พล.อ. ชวลิต จะอยู่กับพรรคเพื่อไทยต่อ ไม่ลาออกอย่างที่เป็นข่าว)

มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี (ภาพจากเว็บไซต์จังหวัดปัตตานี)
ในส่วนของภาคประชาชนเองก็มีความพยายามศึกษาข้อดีข้อเสียของการตั้งเขตการปกครองพิเศษ นครปัตตานีที่นำโดย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ โดยลงพื้นที่จัดงานรับฟังความคิดเห็น 47 ครั้ง ระหว่างเดือนมกราคม 2552 ถึงเดือนมิถุนายน 2553 และได้แถลงร่างผลการศึกษา ชื่อ การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้รัฐธรรมนูญไทย : ความพยายามในการแสวงหาแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนจากมุมมองของคนพื้นที่ในการสัมมนา หัวข้อ “นครปัตตานีภายใต้รัฐธรรมนูญไทย: ความฝันที่จับต้องได้?” เมื่อวันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม 2553 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ผลการศึกษาได้ระบุ ความคาดหวังของคนในพื้นที่ทั้งไทยและมุสลิมไว้ 8 ข้อ ดังนี้
  1. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามบังคับแห่งมาตรา 1 ที่กำหนดให้ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
  2. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องเป็นการปกครองที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมทางการเมืองในลักษณะที่ทุกฝ่ายเกิดความรู้สึกว่าตนเองมีที่ยืนและเป็นส่วนหนึ่งในสังคมไทย (Inclusiveness) รับฟังเสียงส่วนใหญ่โดยไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย คำนึงถึงอัตลักษณ์ที่แตกต่าง รวมทั้งมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพที่เป็นรูปธรรมแก่คนไทยพุทธซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่
  3. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีผู้บริหารที่มีอำนาจสูงสุดทางการปกครองเป็นคนในพื้นที่ และมีจานวนข้าราชการไทยพุทธและไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในสัดส่วนที่สอดคล้องกับจำนวนประชากร ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผู้บริหารและข้าราชการที่มีสานึกรักท้องถิ่น และมีความรู้ความเข้าใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความต้องการของคนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
  4. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีกลไกที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการริเริ่ม เสนอแนะ และตัดสินใจในเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกิจการของท้องถิ่น รวมทั้งกำกับติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะผู้บริหารท้องถิ่นได้ในระดับที่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าตนเองได้มีอำนาจในการจัดการชีวิตของตัวเองดังที่กำหนดไว้ใน มาตรา 281 ของรัฐธรรมนูญที่เน้น หลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
  5. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีระบบการกลั่นกรองผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้บริหารหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่สามารถลดการแข่งขันแตกแยกในชุมชนและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในระดับ หนึ่งว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งจานวนหนึ่งเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและความรู้ ความสามารถ เหมาะสมกับการเป็นตัวแทนประชาชนอย่างแท้จริง
  6. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องใช้สองภาษา คือ ภาษาไทยและภาษามลายูปัตตานีควบคู่กันไปบนสถานที่และป้ายต่างๆ ของทางราชการ
  7. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีระบบการศึกษาที่อยู่ในมาตรฐานกลางของกระทรวงศึกษาธิการ และในขณะเดียวกันต้องสอดคล้องกับความต้องการและอัตลักษณ์ท้องถิ่นด้วย โดยใช้หลักสูตรการศึกษาที่บูรณาการระหว่างสายสามัญและสายศาสนา รวมทั้งมีการเรียนการสอนวิชาภาษามลายูในโรงเรียนของรัฐ ในลักษณะที่ผู้ปกครองจากทุกกลุ่มวัฒนธรรมต่างมีความสบายใจและมั่นใจที่จะส่ง บุตรหลานของตนเข้ามาศึกษาเล่าเรียน
  8. การปกครองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรต้องมีการบังคับใช้ระบบกฎหมายอิสลามกับคนมุสลิมในพื้นที่ทั้งในแง่ของบทบัญญัติ การวินิจฉัยตัดสิน และการมีสภาพบังคับ โดยเน้นไปที่กฎหมายว่าด้วยครอบครัวและมรดกซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตโดยตรงมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น