วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

อุปสรรคของการขับเคลื่อนขบวนประชาธิปไตย

ปัญหาการปฏิวัติระบบการเมืองการปกครองของไทย
ไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์
โดย ไผ่  พันลำ
1.      อำนาจนอกระบบมองไม่เห็น
v     ความซับซ้อนของอำนาจเผด็จการ ประชาชนไม่อาจสัมผัสได้โดยตรง นปช. จึงสอนมวลชนเสื้อแดงให้รู้สึกว่ามีอำนาจนอกระบบคอยกีดกันอำนาจประชาชนเพื่อสร้างความคับแค้นใจ ทางกลุ่มจึงกำหนดเป้าไปที่ อำมาตย์ และสถาบัน เป็นคู่ต่อสู้ เพื่อวางล่อเป้าให้มวลชนเห็นได้ง่าย
2.      มวลชนไม่รู้สึกคับแค้น
v     มวลชนไม่รู้สึกคับแค้นเพราะถูกสร้างให้เป็นฐานเสียงพรรคการเมือง เมื่อพรรคการเมืองที่สนับสนุนได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งแล้ว พวกเขาจึงรู้สึกว่าได้กุมอำนาจรัฐนั้นแล้ว พวกเขาชนะแล้ว คอยระวังเพียงไม่ให้ใครมาทำลายรัฐบาลของพวกเขาเท่านั้น

3.      ประชาชนต้องการเพียงการเปลี่ยนพรรคการเมืองให้ครองอำนาจรัฐ
v     เป้าหมายของมวลชนเสื้อแดง เพียงต้องการแค่อำนาจรัฐกลับคืน ดังณัฐวุฒิกล่าวกะรัฐบาลอภิสิทธิ์เสมอ ๆ ว่า ผลจากการเลือกตั้งไม่ว่าพวกเขาจะชนะหรือแพ้ ก็ขอยอมรับผลนั้นด้วยดีไม่มีมวลชนพวกเขาออกมาอีก
4.      ประชาชนทั่วไปยังสับสนต่อการก้าวไป
v     มวลชนเสื้อแดงพอใจกับผลการเลือกตั้งดังกล่าวมาแล้ว ส่วนประชาชนนอกนี้ ยังสับสนอยู่ว่า การก้าวต่อไปจะกระทบต่อสถาบัน ซึ่งพวกเขายังจงรักภักดี

เสรีภาพแห่งอิสระชน(1)

ข้าจะท่องเที่ยวไปในแหล่งหล้า
ตามประสาชีวิตอิสระ
เที่ยวตามถามไถ่ไม่ลดละ
ในสาระอธิปไตยนั้น

ดั้นด้นค้นหาประสาคน
เสรีชนคนไทยในเขตขัณฑ์
ประชาชาติอภิวัติสารบัญ
บัญญัติอันให้ร่วมแคว้นบนแดนดินฯ


**ไผ่ พันลำ**

-----------------

ความเป็นประชาธิปไตย ? โดย ไผ่ พันลำ


§         กระบวนการแห่งอำนาจประชาชน
  1. ระบบได้มาซึ่งอำนาจ = เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ส.ส.,ส.ว.,
    1. อำนาจนิติบัญญัติ  ส.ส. ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง
    2. อำนาจบริหาร =     เสียงส่วนมากจาก ส.ส. เลือกเป็นคณะรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล
    1. อำนาจตุลาการ =  ผ่านการเลือกตั้ง...............?

§         กระบวนการใช้อำนาจประชาชน
  1. ระบบการใช้อำนาจของประชาชน =    โดยรัฐบาล เป็นตัวแทนประชาชน
  1. ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจ =      
1)      โดยรัฐสภา
2)      โดยพรรคการเมือง
3)      โดยสื่อ
4)      โดยอำนาจทางตุลาการและ
5)      อื่น ฯลฯ
ทั้งนี้ต้องผ่านการเลือกตั้งโดยประชาชน

§         สิทธิและเสรีภาพของประชาชน
  1. การใช้สิทธิ= ได้รับการรับรองจากความเป็นรัฐาภิบาลให้ประชาชนมีสิทธิของความเป็นมนุษย์เป็นเบื้องต้น และในฐานะประชาชนของรัฐเป็นที่สุด  อันได้แก่สิทธิทุกอย่างของการดำเนินชีวิตและการครอบครองทรัพย์สินของตนโดยได้รับการบริการจากรัฐอย่างเสมอภาคตลอดถึงการลงมติใด ๆ อย่างเท่าเทียมกัน ทั้งนี้ในการใช้สิทธิเช่นนั้นต้องไม่
    1.  ไม่ละเมิด สิทธิ ผู้อื่น
    2. รับผิดชอบ ต่อการล่วงละเมิดนั้น
  1. การใช้เสรีภาพ =   โดยธรรมชาติของมนุษย์ ย่อมมีเสรีภาพในร่างกายของตน และในทรัพย์สินของตนตามอัตภาพที่จะ  กระทำการใด ๆ โดยไม่ถูกจำกัดภายใต้เงื่อนไขที่ชอบธรรมกล่าวคือ
§         ไม่ละเมิด ผู้อื่น
§         รับผิดชอบ ต่อการละเมิดนั้น
ทุกอย่างดำเนินไปอย่างมีความเสมอภาค ภราดรภาพ และ ตามอัตภาพ

------------------- -